วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

กฏหมายแพ่งและพาณิชย์ :

กฏหมายลักษณะหนี้


ความหมายของ "หนี้" ในกฏหมายเดิมของไทย
นกฏหมายเดิมของไทยตั่งแต่สมัยอยุธยาใช้คำว่า "หนี้" หรือ "นี่" แต่ความหมายไปในทางขายตัวยอมเป็นทาสเขาเอาเงินเขามาใช้ ในลักษณะสัญญาอื่นก็มีเฉพาะในสัญญากู้ยืมเท่านั้นที่เรียกว่า กู้หนี้ถือสินท่าน [1]
ความผูกพันตามสัญญาอื่นนอกจากสัญญากู้ยืม ไม่ว่าจะเป็นผู้รับฝาก ผู้ยืม ผู้ขาย ผู้ซื้อ หาเรียกว่าเป็น "ลูกหนี้" ไม่ คนเหล่านี้เป็นเพียงผู้ถือสินบนท่านเท่านั้น และความผูกพันตามสัญญาเหล่านี้ก้ไม่เรียกว่าเป็นหนี้ [2]

ความหมายของ "หนี้" ตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์
นี้ที่ใช้อยู่ในกฏหมายปัจจุบันคือ ประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์นั้นมิได้เป็นแนวคิดในเรื่องหนี้ของไทยตามกฏหมายเดิม แต่เรานำแนวคิดและหลักกฏหมายเรื่องหนี้มาจากระบบกฏหมายซีวิลลอว์ (Civil Law) [3] ของประเทศภาคพื้นยุโรป เมื่อมีการจัดทำต่อหนึ่ง ในกฏหมายโรมันนั้นใช้คำว่า "obligato" ซึ่งแปลว่า "ภาระ" หรือ "หน้าที่" ซึ่งอาจมองได้ 2 ทาง มองในทางหนึ่งเป็นสิทธิที่จะเรียกร้องเอาจากอีกฝ่ายหนึ่ง มองอีกทางหนึ่งเป็นหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติให้แก่ฝ่ายที่ทรงสิทธินั้น

ในประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ปัจจุบันไม่ได้มีการบัญญัตืความหมายของคำว่า หนี้ ไว้ แต่ในประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.2466 ซึ่งถูกยกเลิกไปโดยไม่ทันได้ใช้นั้น ได้ให้คำจำกัดความของหนี้ไว้ว่า "อันว่าหนี้นั้นโดยนิตินัยเป็นความเกี่ยวพันระหว่างบุคคลเดียว หรือหลายคน ฝ่ายหนึ่งเรียกว่าลูกหนี้ จำต้องส่งทรัพย์สินก็ดี หรือทำการ หรือเว้นทำการให้แต่บุคคลเดียวหรือหลายคน อีกฝ่ายเรียกว่าเจ้าหนี้" ความหมายดังกล่าวนี้เมื่อเปรียบเทียบกับบทบัญญัติในประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ปัจจุบันในผลแห่งหนี้ในมาตรา 174 ที่บัญญัติว่า

 "ด้วยอำนาจแห่งมูลหนี้ เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิจะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ อนึ่งการชำระหนี้ด้วยงดเว้นการอันใดอันหนึ่งย่อมมีได้"

บทบัญญัติดังกล่าวนี้มิได้กล่าวถึงหนี้ในทางความหมาย แต่กล่าวถึงในทางที่จะบังคับตามความสัมพันธ์ทางหนี้นั้น ซึ่ง ศาสตราจารย์ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช ก็เห็นว่าบทบัญญัติในปัจจุบันก็มีความหมายที่ไม่แตกต่างจากบทบัญญัติที่อยู่ในประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2466 เดิมนั้นเอง และการที่ไม่ให้ความหมายไว้ก็ยังทำให้เกิดความยืดหยุ่นได้มากกว่าซึ่งแท้จริงแล้วความหมายจะเป็นอย่างไร ก็ดูจะไม่สำคัญเท่ากับว่า เมื่อมีหนี้แล้วผลบังคับจะเป็นเช่นไรมากกว่า

ความหมายของหนี้ในความคิดเห็นของนักนิติศาสตร์
  1. Schuster กล่าวว่า หนี้เป็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 2 คน ซึ่งก่อให้เกิดสิทธิแก่บุคคลหนึ่งที่จะเรียกร้องให้บุคคลอีกคนหนึ่ง กระทำการหรืองดเว้นกระทำการ ซึ่งยอมรับว่าก่อให้เกิดผลทางกฏหมาย ( A relationship between two persons which entitles one of them to claim from the other some act or omission recognised as capable of producing a legal effect ) [4]
  2. Howe กล่าวว่า "หนี้ คือความผูกพันในกฏหมาย ทำให้คู่สัญญาฝ่ายที่จะได้ประโยชน์ มีสิทธิขอให้บังคับชำระหนี้ได้ตามกฏหมาย และในการนั้นย่อมร้องขออำนาจศาลของบ้านเมืองช่วยบังคับได้" และสาระสำคัญของหนี้คือผลผูกพันให้เราต้องส่งทรัพย์สิน กระทำการหรือปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่ง [5]
  3. Planiol มองว่า หนี้เป็นความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ ซึ่งมองได้ 2 ด้าน คือ มองทางฝ่ายเจ้าหนี้ก็เป็นในเชิงรุก (Active) คือเป็นสิทธิหรือเป็นเครดิต แต่ถ้ามองทางฝ่ายลูกหนี้ก็เป็นในเชิงรับ (Passive) คือเป็นหนี้ (Debt) และเขาเห็นคำว่า หนี้ (Obligation) มักใช้ความหมายแคบคือในความหมายของหนี้ (Debt) [6]
องค์ประกอบของหนี้ มีลักษณะสำคัญดังนี้

  1. การมีนิติสัมพันธ์ (ความผูกพันกันในกฏหมาย) หากกฏหมายไม่รองรับการนั้นก้ไม่เกิดหนี้ผูกพันด้วย
  2. การที่เจ้าหนี้ และลูกหนี้ (เป็นบุคคลสิทธิ)
  3. ต้องมีวัตถุแห่งหนี้  ได้แก่
          -หนี้กระทำการ เช่น  ลูกจ้างต้องทำงานให้นายจ้าง
          -หนี้งดเว้นกระทำการ เช่น ผู้เป็นหุ้นส่วนต้องงดเว้นไม่ทำการค้าแข่งกับห้างหุ้นส่วน
          -หนี้ส่งมอบทรัพย์สิน (หรือโอนกรรมสิทธิ์) เช่น ผู้ให้เช่าต้องส่งมอบทรัพย์สินซึ่งให้เช่า [7]

บ่อเกิดแห่งหนี้
  1. หนี้เกิดโดยนิติกรรม - สัญญา ซึ่งเมื่อมีการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้น ก็ย่อมเกิดความเป็นเจ้าหนี้ - ลูกหนี้ขึ้นโดยปกติ เมื่อเกิดหนี้ ลูกหนี้จะหลุดพ้นจากเคราะห์แห่งหนี้ได้ด้วยการชำระหนี้  ซึ่งจะชำระหนี้อย่างไรนั้น ย่อมเป็นไปตามที่ตกลงในสัญญาที่ทำลง  กฎหมายจะไม่ยุ่งเกี่ยว แต่จะคอยควบคุมอยู่กว้าง มิให้ออกนอกกรอบที่กฎหมายระบุ  เพราะนิติกรรมเป็นบรรดากรณีที่กฎหมายไม่อาจกล่าวได้ทั้งหมด เช่นการซื้อขายรถยนต์  การเช่าหมู  เป็นต้น  การตกลงกันทางธุรกิจ กฎหมายจึงไม่เกี่ยวข้องด้วย  แต่กำหนดกรอบมิให้กระทำทุจริตเท่านั้น  บางทีมีการกระทำ(ซึ่งมีผลทางกฎหมายแต่มิได้มุ่งหมายผูกพันประการใด เช่น เราทำละเมิดตีหัวคนอื่นเขา  แต่มิใช่เป็นเรื่องที่จะผูกนิติสัมพันธ์ว่า เมื่อตีหัวเขาแล้วจะใช้ค่าสินไหมทดแทนให้เขา  จึงปรับเข้าลักษณะนิติกรรมไม่ได้ [8]   กระนั้น ผู้ทำผิดดังกรณีนี้เป็นละเมิด  ไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายกระนั้นหรือกฎหมายเองได้คุ้มครองกรณีนี้ไว้ เรียกว่านิติเหตุ
  2. หนี้เกิดโดยนิติเหตุ   คือ  เหตุที่เกิดขึ้นโดยการกระทำซึ่งไม่มุ่งก่อให้เกิดผลตามกฎหมาย  แต่กฎหมายจะเอาเรื่องว่า กระทำดั่งนี้ผิด และต้องชดใช้  เช่น ละเมิด  ลาภมิควรได้(ได้ทรัพย์สินเกินส่วนที่ควรจะได้) หรือ เป็นนิติเหตุตามที่กฎหมายบัญญัติ เช่น บุตรจำเป็นต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา(กรณีนี้เป็นหนี้เนื่องจากสถานะของบุคคล) [9] เป็นต้น  โดยผู้กระทำผิดตามหนี้ลักษณะนี้ ต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทน ซึ่งศาลจะเป็นผู้วินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้าย






Note
                                                              

[1] ร.แลงกาต์. ประวัติศาสตร์กฏหมายไทย. (กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2526) หน้า166-172
[2] โสภณ รัตนากร. คำอธิบายประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยหนี้. (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์นิติบรรณการ, 2539) หน้า20
[3] โสภณ รัตรากร. อ้างแล้วใน[2] หน้า 19-20
[4] Ernest J. Schuster, the Principle of German civil law, p.137 อ้างใน โสภณ รัตรากร. อ้างแล้วใน[2] หน้า 22
[5] เสนีย์ ปราโมช, ม.ร.ว. ประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยนิติกรรมและหนี้. (กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช,2526) หน้า 273
[6] Marcel Planiol. 1939. Treatise on the Civil law p. 93. ข้อ 157
[7] วรรณฤทธิไกร  วรรณชูพริ้ง. สรุปย่อกฎหมาย(กรุงเทพฯ: ไม่ปรากฏสำนักพิมพ์,2550) หน้า59
[8] เสนีย์ ปราโมช, ม.ร.ว. กฏหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยนิติกรรมและหนี้. (ไม่ปรากฏสำนักพิมพ์,2482)
[9] วรรณฤทธิไกร  วรรณชูพริ้ง. อ้างแล้วใน [7] หน้า61
                                                                        
Reference
กำธร พันธุลาภ. คำอธิบายประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยหนี้. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2520
จิ๊ด เศรษฐบุตร. หลักกฏหมายแพ่งลักษณะนิติกรรมและหนี้. กรุงเทพฯ :คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2522
ประชุม โฉมฉาย. หลักกฏหมายโรมันเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอนคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2549
เสนีย์ ปราโมช ม.ร.ว. ประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยนิติกรรมและหนี้ เล่ม 1. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนพานิช, 2526